วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

About Me

จัดทำโดย


นางสาวตรีรัตน์ กมลรัตน์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 เลขที่ 56

เว็บไซต์เกี่ยวกับจังหวัดอำนาจเจริญ

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ



จังหวัดอำนาจเจริญ





ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทางประมาณ 704 กิโลเมตร
รถไฟหรือเครื่องบิน
สำหรับผู้ที่ใช้บริการทางเครื่องบิน และรถไฟจะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดอำนาจ เจริญอีกประมาณ 75 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-อำนาจเจริญ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หมอชิต 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 2852-66 www.transport.co.th

สอบถามข้อมูล

สถานที่พักแรม ที่พัก โรงแรม ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

ร้านอาหาร ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

ร้านจำหน่ายของที่ระลึกขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

สินค้าพื้นเมือง
ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีการแข่งเรือยาว
จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งมีเรือจากอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เรือจากอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเรือจากอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มาร่วมแข่งขันเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี งานแข่งเรือจัดขึ้นที่บริเวณท่าน้ำ แม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ช่วงเช้าและช่วงบ่ายจะเป็นการแข่งเรือส่วนตอนกลางคืนบริเวณที่ว่าการอำเภอ จะมีการออกร้านขายสินค้าและมีมหรสพ

คำขวัญจังหวัดอำนาจเจริญ


ตราสัญลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ



คำขวัญ ประจำจังหวัด
พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา
เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ ลืออำนาจ )


อำเภอลืออำนาจ พระเจ้าใหญ่ลือชัย หลากหลายไหมขิด แหล่งผลิตชุดวอร์ม ดอกพยอมโสภา เสมาพันปี ประเพณีบุญคูณลาน
 
 
 
 
 
พระฤทธิ์ลือชัย
เป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดบ้านอำนาจ หมู่ที่ 4 ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2404 ในคราวเดียวกันกับพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อำนาจเจริญ
พระเจ้าใหญ่ลือชัย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือ พระฤทธิ์ลือชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดอำนาจ
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อด้วยอิฐ ถือปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๘ – ๒๔๐๔ บริเวณวัดอำนาจ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ลือชัย นั้นมีลักษณะเป็นชุมชนเก่าแก่ และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญ มาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และ ปาฏิหาริย์ ของพระเจ้าใหญ่ลือชัยมากมาย จากผู้คนที่มากราบไหว้บูชาแล้วประสบความเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือ
ความเชื่อและศรัทธา
คนโบราณเล่าลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรจะได้รับความสำเร็จ ได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มาร มีอำนาจบารมีเป็นที่ยำเกรง ชีวิตผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนานาประการได้อย่างน่าอัศจรรย์






อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้าต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ ห่างจากจังหวัด 30 กิโลเมตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 7.00 เมตร ยาว 10.80 เมตร สูง 7.40 เมตร ผนังภายในและภายนอกมีภาพจิตกรรมฝีมืออดีตเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดบ้านยางช้า





แหล่งโบราณคดีเสมาหลายพันปีแหล่งโบราณคดีบ้านเปือยหัวดง ต.เปือย อ.ลืออำนาจ ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ ดังปรากฏว่ามีการสร้างเสมาบริเวณใกล้เคียงกันถึง 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดงปักล้อมฐานหินทรายที่ตั้งรูปเคารพ และพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิราบ สมัยทราวดีตอนปลายองค์หนึ่ง ลักษณะของเสมาเรียบไม่มีลวดลาย แต่ตรงกลางเป็นแกนสันที่เรียวไปถึงยอด





กลุ่มเสมาบริเวณวัดป่าเรไร บ้านเปือยหัวดงวัดป่าเรไรปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ นักเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ไม่มีการสลักลวดลายมากนัก เพียงแต่ตกแต่งรูปร่างให้เป็นเสมาและมีการสลักฐานบัวคว่ำบัวหงายมีสันนูนคล้ายยอดสถูปตรงกลาง





กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลาบ้านเปือยหัวดง เป็นเนินศาสนสถานที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำหรือบูรณฆฎะ 1 นอกจากนี้ยังได้ขุดพบหม้อดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบ ภายในหม้อบรรจุพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดเล็กบุเงินจำนวนมาก





บ่อน้ำบุ้นคำว่า "บุ่น" เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึง การไหลทะลักออกมา "น้ำบุ่น" จึงหมายถึง น้ำไหลทะลักขึ้นมาจากพื้นดินตลอดเวลาคล้ายน้ำพุแต่ไม่สูงนัก "บ่อน้ำบุ้น" เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหรือแอ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายบ่อทราย กว้างประมาณ 1 เมตร มองคล้ายกะทะหงายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ปากหลุมเป็นดินเหนียวหรือดินโคลนปิดปากหลุม มีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา เห็นได้ชัดในฤดูแล้ง ส่วนฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ว่า "ดูน" การไหลพุ่งขึ้นมาของน้ำใต้ดินจะทำให้โคลนที่อยู่ปากบ่อ หรือชาวบ้านเรียกว่า "แปวดูน" มีการไหลเวียนขึ้นลงก่อให้เกิดแรงดูด หากมีคนหรือสัตว์พลัดตกลงไปจะถูกโคลนดูดจมหายไป ในปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีบ่อน้ำบุ้นอยู่ 3 แห่ง คือ
1) ที่วัดบึงน้ำพุ ต.ไก่คำ อ.เมือง
2) ที่บ้านนาดูน ต.เปือย อ.ลืออำนาจ
3) ที่บ้านน้ำซับ ต.แมด อ.ลืออำนาจ

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ พนา )

อำเภอพนา พนาเมืองเก่า พระเหลาเทพนิมิตร ผ้าขิดสวยดี มัดหมี่จานลาน วนอุทยานดอนเจ้าปู่ เมืองครูนักปราชญ

 


วัดพระเหลาเทพนิมิตพระเหลาเทพนิิมิต เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองสูง 2.70 เมตร หน้าตักกว้างเล่าลือกันในหมู่ชาวบ้านไม่รู้จบสิ้น เป็นที่เคารพนักถือของประชาชนชาวพุทธทั่วไปนานกว่า 200 ปี นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรสันนิษฐษนว่า ทั้งโบสถ์และองค์พระประธานเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะลาวมีอายุราว พ.ศ.2263 เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือกันว่าเป็นเทศกาลปิดทองอค์พระเหลาเทพนิมิต จะมีพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาบำเพ็ญบุญและแก้บน โดยนำปราสาทผึ้งมาทอดถวาย นำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะ กลายเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาิมิได้ขาด แม้ในวันธรรมดาก็มีผู้นิยมศรัทธาเลื่อมใสมานมัสการเป็นประจำ
พระเหลาเทพนิมิต (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระเหลาเทพนิมิต ประดิษฐานในอุโบสถวัดพระเหลาเทพนิมิต ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในสกุลศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทน์ หล่อปูนลงรักปิดทอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๒๖๓ กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะ งดงามที่สุดองค์หนึ่งใน
ภาคอีสาน ช่างที่สร้างเศียรพระคือซาพรหม ซึ่งเชื่อว่ามีเทวดาลงมาช่วยในการก่อสร้าง ทำให้องค์พระมีความงดงาม กลมกลึงประดุจการหล่อเหลาด้วยมือของเทวดา
ความเชื่อและศรัทธา
มีคำเล่าลือกันว่าทุกคืนวันพระ จะปรากฏลำแสง ลอยออกจากอุโบสถในเวลาเงียบสงัด และเชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้พระเหลาเทพนิมิตจะพบแต่ความสุขสบาย เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้บังคับบัญชา มีวาสนาสูงส่ง เป็นที่รักและเคารพนับถือแก่คนทั่วไป



แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมืองตำบลไม้กลอน อำเภอพนา สภาพภูมิศาสตร์ของแหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างยาวรี มีขนาดประมาณ 300-400 เมตร เนินดินส่วนยอดอยู่สูงจากพื้นที่นาโดยรอบประมาณ 3.50 เมตร โบราณวัตถุที่สำรวจพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดหินและแก้ว โบราณวัตถุที่ทำจากทองเหลือง โครงกระดูกมนุษย์และเสมาหินทราย



สวนอุทยานดอนเจ้าปู่สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร วนอุทธยานดอนเจ้าปู่ มีเนื้อที่ประธารณ 260 ไร่
อยู่ห่างจากบ้านพนาไปทางทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร สภาพทั่่วไปเป็นป่า ประกอบด้วยป่าไม้เบญจพรรณนานาชาติ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลิงเป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ในแป่าแห่งนี้ ประมาณ 500 ตัว
             วนอุทธยานดอนเจ้าปู่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอำนาจเจริญ และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนและชาวอำนาจเจริญให้ความเคารพบูชา
มีศาลปู่ตาซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเจ้าปู่ (พรานที พรานทอง) โดยมีรูปปั้นสูง 6 ฟุต ตั้งตะหง่านอยู่และมีพุทธสถานที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางประสูติ ปางตรัสรู้
ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน อยู่ในบริเวณอุทยานดอนเจ้าปู่แห่งนี้