วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ เสนางคนิคม )

อำเภอเสนางคนิคม เมืองสองนาง เด่นดังข้าวจี่ ดีล้ำพลุตะไล ผ้าไหมลายขิด วิจิตรภูโพนทอง ชื่อก้องกลองยาว
 
 
 
 
ถ้ำพระ ภูโพนทองมีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี มีทั้งด้วยไม้ ดิน หิน ชาวบ้านนิยมขึ้นไปสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ ปีใดฝนแล้งชาวบ้านจะขึ้นไปขอฝน




คอกช้าง (คล้องช้างป่า)เป็นลักษณะหินขนาดใหญ่วางพิงกันจนเป็นคล้ายถ้ำ สมัยก่อนชาวบ้านจะต้อนช้างเข้ามา แล้วเอาเชือกคล้องงาช้างไว้


 


ทิวทัศน์ ภูเกษตรเป็นภูเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเพียงลูกเดียวไม่ติดต่อกันเป็นเทือกเขา มีความสูงชันหลายๆชั้นตามไหล่
เขามีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง






ภูวัด
ภูวัดมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับภูโพนทอง เป็นภูเขาหินทรายที่มีต้นไม้น้อนใหญ่ปกคลุม ตั้งห่างจากภูโพนทองไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยิ่ง เพราะสามารถเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาได้สะดวกและป่าไม้
ยังมีความอุดมสมบุรณ






ภูพนมดีตั้งอยู่ใกล้ภูเกษตร ตำนานเล่าว่าใครไปล่าสัตว์หรือแผ้วถางป่า จะมีอันเป็นไป เมื่อก่อนเรียกว่า "ภูแม่หม้าย"
จุดชมทัศนียภาพ เป็นลานดินสลับกับก้อนหินที่มีความสวยงาม เหมาะสำหรับชมทัศนียภาพและตั้งแคมป์พักผ่อน





ดานหัวนาคเป็นก้อนหินทรายที่ถูกกัดเซาะ ตั้งซ้อนกันสูงประมาณ 6 เมตร ก้อนที่ตั้งอยู่ข้างบนมีลักษณะคล้าย ๆ กับหัวพญานาค จึงเรียกตามจินตนาการว่า "ดานหัวนาค





แอวขันเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าทางธรรมชาติ ตั้งอยู่บนหน้าผาทางด้านทิศใต้ของภูโพนทอง





คอกช้างคอกม้า มีลักษณะเป็นโขดหินวางซ้อนกันเกะกะ ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หลังเขานานาพันธุ์ เป็นที่หลบภัยของฝูงช้างป่าในสมัยก่อน ปัจจุบันเหลือไว้ให้ดูเฉพาะรอยโคลนตมที่ช้างได้ถูและติดกับก้อนหิน แต่เนื่องจากว่าก้อนหินบริเวณนี้ช้างได้อาศัยหลบฝนและอากาศร้อนคราวละหลาย ๆ เชือก จึงเรียกขนานนามว่า "คอกช้างคอกม้า"


 


ภูโพนทองเป็นภูเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 353 ฟุต มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
1) สร้างวัด คือ โพรงหิน มีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ "สร้าง" ภาษีอีสานออกเสียงว่า "ส่าง" หรือ "บ่อน้ำดื่ม"
2) แอวขัน "แอว" เป็นภาษาอีสาน คือ "เอว" เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ เป็นจุดชมวิวสวยงามแห่งหนึ่ง "ขัน" คือ ภาชนะตักน้ำคล้ายพาน
3) คอกช้าง คือ เพิงหินขนาดใหญ่ เป็นลานกว้างมีก้อนหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ เมื่อก่อนช้างที่ขึ้นไปหากินหญ้า หรือใบไม้บนภูโพนทอง
จะอาศัยเพิงหินแห่งนี้เป็นที่พักหรือที่หลบฝน ชาวบ้านจึงเรียกว่า "คอกช้าง"
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น