วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ ลืออำนาจ )


อำเภอลืออำนาจ พระเจ้าใหญ่ลือชัย หลากหลายไหมขิด แหล่งผลิตชุดวอร์ม ดอกพยอมโสภา เสมาพันปี ประเพณีบุญคูณลาน
 
 
 
 
 
พระฤทธิ์ลือชัย
เป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดบ้านอำนาจ หมู่ที่ 4 ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2404 ในคราวเดียวกันกับพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อำนาจเจริญ
พระเจ้าใหญ่ลือชัย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือ พระฤทธิ์ลือชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดอำนาจ
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อด้วยอิฐ ถือปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๘ – ๒๔๐๔ บริเวณวัดอำนาจ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ลือชัย นั้นมีลักษณะเป็นชุมชนเก่าแก่ และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญ มาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และ ปาฏิหาริย์ ของพระเจ้าใหญ่ลือชัยมากมาย จากผู้คนที่มากราบไหว้บูชาแล้วประสบความเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือ
ความเชื่อและศรัทธา
คนโบราณเล่าลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรจะได้รับความสำเร็จ ได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มาร มีอำนาจบารมีเป็นที่ยำเกรง ชีวิตผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนานาประการได้อย่างน่าอัศจรรย์






อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้าต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ ห่างจากจังหวัด 30 กิโลเมตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 7.00 เมตร ยาว 10.80 เมตร สูง 7.40 เมตร ผนังภายในและภายนอกมีภาพจิตกรรมฝีมืออดีตเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดบ้านยางช้า





แหล่งโบราณคดีเสมาหลายพันปีแหล่งโบราณคดีบ้านเปือยหัวดง ต.เปือย อ.ลืออำนาจ ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ ดังปรากฏว่ามีการสร้างเสมาบริเวณใกล้เคียงกันถึง 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดงปักล้อมฐานหินทรายที่ตั้งรูปเคารพ และพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิราบ สมัยทราวดีตอนปลายองค์หนึ่ง ลักษณะของเสมาเรียบไม่มีลวดลาย แต่ตรงกลางเป็นแกนสันที่เรียวไปถึงยอด





กลุ่มเสมาบริเวณวัดป่าเรไร บ้านเปือยหัวดงวัดป่าเรไรปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ นักเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ไม่มีการสลักลวดลายมากนัก เพียงแต่ตกแต่งรูปร่างให้เป็นเสมาและมีการสลักฐานบัวคว่ำบัวหงายมีสันนูนคล้ายยอดสถูปตรงกลาง





กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลาบ้านเปือยหัวดง เป็นเนินศาสนสถานที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำหรือบูรณฆฎะ 1 นอกจากนี้ยังได้ขุดพบหม้อดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบ ภายในหม้อบรรจุพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดเล็กบุเงินจำนวนมาก





บ่อน้ำบุ้นคำว่า "บุ่น" เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึง การไหลทะลักออกมา "น้ำบุ่น" จึงหมายถึง น้ำไหลทะลักขึ้นมาจากพื้นดินตลอดเวลาคล้ายน้ำพุแต่ไม่สูงนัก "บ่อน้ำบุ้น" เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหรือแอ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายบ่อทราย กว้างประมาณ 1 เมตร มองคล้ายกะทะหงายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ปากหลุมเป็นดินเหนียวหรือดินโคลนปิดปากหลุม มีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา เห็นได้ชัดในฤดูแล้ง ส่วนฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ว่า "ดูน" การไหลพุ่งขึ้นมาของน้ำใต้ดินจะทำให้โคลนที่อยู่ปากบ่อ หรือชาวบ้านเรียกว่า "แปวดูน" มีการไหลเวียนขึ้นลงก่อให้เกิดแรงดูด หากมีคนหรือสัตว์พลัดตกลงไปจะถูกโคลนดูดจมหายไป ในปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีบ่อน้ำบุ้นอยู่ 3 แห่ง คือ
1) ที่วัดบึงน้ำพุ ต.ไก่คำ อ.เมือง
2) ที่บ้านนาดูน ต.เปือย อ.ลืออำนาจ
3) ที่บ้านน้ำซับ ต.แมด อ.ลืออำนาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น