วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ(อำเภอ เมือง)

อำเภอเมือง พระใหญ่คู่เมือง ลือเลื่องถ้ำแสงเพชร รสเด็ดเนื้อแห้ง แหล่งเกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำงามตา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม งามล้ำประเพณี




พระมงคลมิ่งเมือง (พระใหญ่)เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตั้งอยู่ที่พุทธอุทยาน ถนนชยางกูร อำเภอเมือง มีพุทธลักษณะ ตามอิทธิพลด้านศิลปะอินเดียเหนือ
แคว้นปาละ ซึ่งได้แผ่อิทธิพลด้านศิลปะมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อรวาพุทธศตวรรษที่ 13-16 เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับต่ำสุดถึงยอดเปลว 20 เมตร
โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2508 เชื่อกันว่าพระมงคลมิ่งเมืองเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนทั้งชาวอำนาจเจริญ
และจังหวัดใกล้เคียงมีความเคารพและ กราบไหว้บูชาทุกปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆะบูชา) ชาวบ้านจะจัดงานนมัสการ พระมงคลมิ่งเมืองและถือได้ว่าเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดอำนาจเจริญที่ถือปฏิบัติ
กันมาจนถึงปัจจุบัน มีการแสดง แสง เสียง ตำนานเมืองอำนาจเจริญเป็นประจำทุกป

พระมงคลมิ่งเมือง (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
ประดิษฐานอยู่ในบริเวณพุทธอุทยาน ถนนชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพุทธลักษณะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียเหนือ แคว้นปาละ หน้าตัก กว้าง ๑๑ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินถึงยอดเปลว ๒๐ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสก สีทอง ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ จัดทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘
ความเชื่อและศรัทธา
พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียไว้ที่องค์พระ และล่ำลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรพระมงคลมิ่งเมือง ซึ่งถือเสมือนการได้ไปกราบไหว้พระสารีริกธาตุที่ประเทศอินเดีย เป็นการเสริมมงคลแก่ชีวิต มีความเจริญก้าวหน้า มีอำนาจวาสนา และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นหลักชัยในบ้านเมือง

                                              

สวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่ ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 35 ไร่ 13 ตารางวา ภายในสวนมิ่งเมือง เฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาล หลักเมือง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2544



วัดถ้ำแสงเพชร "...วัดถ้ำำแสงเพชร หรือศาลาพันห้องเป็นศาลาอยู่ยอดเขาสูงทิศเหนือมีถ้ำขนาดใหญ่ภายในถ้ำ
มีพระพุทธรูปสวยงาม..." ต่อมาเมื่อปี 2511 หลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี) ได้มาพำนักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระใหญ่ 5 คืน
ถ้ำแสงเพชร เป็นสำนักสงฆ์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง มีการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
มากมาย มีการตัดถนนทางราดยางถึง มหาวิหาร กว้าง 28 เมตร ยาว 60 เมตร โดย
พื้นชั้นล่างเป็นแทงค์เก็บน้ำฝนไว้ใช้หน้าแล้งและทำให้วิหารมีบรรยากาศเย็น ข้าง
มหาวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ ยาว 19 เมตร มีพุทธลักษณะที่สวยงาม และเจดีย์สถูป
ภายในมีรูปปั้นเหมือนของหลวงปู่ชา และภาพเขียนฝาผนังสีน้ำพุทธประวัติสวยงามมาก ห่างจากจังหวัดไปทาง อ.ปทุมราชวงศา 11 กม.
พระนอนวัดถ้ำแสงเพชร (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)ประดิษฐานอยู่ที่วัดถ้ำแสงเพชร ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวัดสาขาที่๕ ของวัดหนองป่าพงหลวงปู่ชา สุภัทโทวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินธุดงค์มายังบริเวณถ้ำแสงเพชร และใช้ถ้ำเป็นที่พำนักวิปัสสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ มีความเงียบสงบ
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
ความเชื่อและศรัทธาเชื่อ
กันว่าการได้มากราบไหว้บูชาพระนอนวัดถ้ำแสงเพชร ถือเสมือนเป็นการได้เข้าเฝ้ารับฟังปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ผู้ที่ได้มากราบไหว้บูชาจะอุดมด้วยสติปัญญา มีแต่ความสว่างไสวมีความปลอดภัย ประสบชัยชนะจากหมู่มารชีวิตมีแต่ความสงบสุขอย่างแท้จริงเหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำแสงเพชร
ก็เนื่องมาจากประกายของเกล็ดหินยามเมื่อต้องกับแสงตะวันจะวาววับคล้ายกับแสงเพชร อีกทั้งหลวงปู่ชา พร้อมด้วยลูกศิษย์ ได้มาพักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระใหญ่และได้เกิดนิมิตประหลาดจนเกิดความมั่นใจว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ในการบำเพ็ญธรรม
จึงได้ตั้งชื่อ ถ้ำพระใหญ่ ใหม่ว่า “ถ้ำแสงเพชร” และเคยจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
วัดถ้ำแสงเพชร มีเจดีย์ขนาดใหญ่ภายในประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ชา สุภัทโท ผนังภายในเป็นภาพเขียนสี ที่สวยงาม พื้นที่ส่วนบนของผนัง
เล่าเรื่อง พุทธประวัติ ส่วนด้านล่างเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชา สุภัทโท


พระศรีโพธิ์ชัย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระศรีโพธิ์ชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดศรีโพธิ์ชัย บ้านปลาค้าว อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพุทธลักษณะ แบบลาวล้านช้าง ก่ออิฐถือปูนปิดทอง สูง ๑.๒๐ เมตร
หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร เป็นพระพุทธรูป ที่ชาวบ้านในเขตตำบลปลาค้าว และประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ เคารพเลื่อมใสมากที่สุดองค์หนึ่ง ในจำนวนพระพุทธรูปเก่าแก่ของจังหวัดอำนาจเจริญ
ความเชื่อและศรัทธา
ชาวอำนาจเจริญเชื่อว่าผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษา เล่าเรียนและการงานอาชีพ จะมากราบไหว้ขอพรบอกกล่าวต่อพระศรีโพธิ์ชัย และสมความมุ่งหวัง ทุกราย
เดิมวัดศรีโพธิ์ชัย จะมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัด แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว อุโบสถ หรือวิหารที่ประดิษฐานพระศรีโพธิ์ชัย ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ลักษณะของวิหารมีระเบียงรอบและเสาค้ำเป็นซุ้มโค้งล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีบันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านข้างอุโบสถ หลังคาเป็นเครื่องไม้เดิมสันนิษฐานว่ามุงด้วยกระเบื้องดินเผา แต่ปัจจุบัน มีสภาพชำรุดและเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสีแทน ปั้นลมและเชิงชายเป็นไม้แกะสลักและลายฉลุ เหนือประตูทางเข้ามีจารึกเป็นตัวเลขไทย และตัวเลขญวนบอก พ.ศ.๒๔๗๘ ชาวบ้านทั่วไปเรียก วิหารญวน ภายในวิหารมีโบราณวัตถุล้ำค่า เช่น พระพุทธรูปไม้ ตู้พระไตรปิฎก โฮงฮดไม้แบบโบราณ

วัดถ้ำแสงแก้วสวนเทพอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดถ้ำแสงแก้วเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งหลวงพ่อแดง (ท่านพระครูเมตตาภิวัฒน์ สุวัณโณ)
กับนายสันติ เกรียงไกรสุข และคณะได้ขึ้นไป พบรอยเท้าพระอรหันต์ องค์พระสวลี เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2541 แรม 9 ค่ำ เดือน 6
คาดว่า มีมานานกว่า 2,000 ปี อนึ่งนอกจากบริเวณวัด ถ้ำแสงแก้วและลานเทพเป็นที่สถิตย์ของ "หลวงปู่ฤาษีบรมโกฎิ" ผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ ผู้มีฤทธิ์มาก ผู้กระทำแต่ความดีงาม ผู้มีอายุยาวนาน


                                      

ภูจำปาเป็นเขาเล็ก ๆ มีต้นจำปาขึ้นตามลานหิน เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่ง มีถ้ำพระศักดิ์สิทธิ์ และโขนหินมากมาย
อยู่บ้านภูจำปา ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ห่างจากจังหวัดไปทางจังหวัดยโสธร ถึงสี่แยกน้ำปลีก
ประมาณ 19 กม. เลี้ยงขวาเข้าหมู่บ้านประมาณ 6 กม.

                                             

พระสังกัจจายน์ (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระสังกัจจายน์ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร วัดสำราญนิเวศ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ หน้าตักกว้าง ๖ เมตร สูง ๑๐ เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก ผิวนอกฉาบปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระสังกัจจายน์ เป็นปางพระโพธิสัตว์ของ พระศรีอริยเมตตรัย ลงมาจุติประกาศพระสัจจะธรรมในพระพุทธศาสนาต่อจากพระศากยมุนี หรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งมี ศรีสุข ความอุดมสมบูรณ์
ความเชื่อและศรัทธา
เชื่อกันว่าผู้ที่ได้มากราบไหว้บูชาพระสังกัจจายน์ เป็นการสั่งสมปัญญาบารมี
มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและพบพระพุทธศาสนาในยุคพระศรีอริยเมตตรัย



วัดดงเฒ่าเก่าบ้านหนองเรือ ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เป็นแหล่งที่มีการปักเสมาในพื้นที่กว้าง มีการสลักลวดลายนูนตำ่เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อนำ้ และตอนบนเป็นรูปวงกลมคล้ายธรรมจักร มีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 12-13 และยังพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลายด้วย


 


อุโบสถ (สิม) วัดราสิยารามตั้งอยู่บ้านไก่คำ ตำบลไก่คำ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากจังหวัด 5 กิโลเมตร สร้างราว พ.ศ.2468-2471 เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะเป็นอาคารสี่เหลื่ยมผืนผ้า กว้าง 4.20 เมตร ยาว 2.40 เมตร สูง 6.60 เมตร มุขหน้าเป็นไม้ ทำเป็นรัศมี มีแสงอาทิตย์และไม้ลูกฟัก ที่ผนังโบสถ์ด้านหน้า มีภาพเขียนแบบโบราณ


 


วนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้งตั้งอยู่ ณ บ้านบ๋าเจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่วนอุทยานฯ เป็นภูเขาหิน หินเป็นหินทรายอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหัวกอง ดงบังอี่ เขตอำเภอเมือง และอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ 8,000 ไร่ ห่างจากจังหวัดไปทางอำเภอปทุมราชวงศา 16 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านบ๋าเจริญ 4 กม. ถึงที่ทำการวนอุทยาน


                  ตะพาบหิน เป็นลานหินกว้างประมาณ 10 เมตร หินคล้ายตะพาบน้ำตั้งอยู่ บนลานหิน


ลานควายตู้ เป็นปฏิมากรรมหินทราย (Sand Stone) จาก
ธรรมชาติพิสดารแปลดตาอยู่บนลานหินขนาดใหญ่ หินมีลักษณะคล้ายลานเลี้ยงควายซึ่งเหล่านี้เกิดจากการกัดเซาะของสายน้ำ
ลม แสงแดด


อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยานก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2500-2506 ปิดกั้นห้วยปลาแดก สาขาลำน้ำ้้เซบาย เป็นทำนบดิน ยาว 1,300 ม. สูง 13.5 ม. สันกว้าง 6 ม. ปริมาณเก็บกักน้ำ 15.34 ล้านบาทก์เมตร เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ 11,014 ไร่ เพื่อการประปา โดยเป็นแหล่งสนับสนุนน้ำดินให้การประปาได้ถึง จำนวน 2,400 ลูกบาศก์เมตร/วัน


 


อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท เป็นอ่างเก็บเพื่อการเกษตรห่างจากตัวอำเภอเมือง 15 กม. ทางไป อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ถนนอรุณประเสริฐ 11 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าไปเส้นทางเดีียวกันกับ
วัดถ้ำแสงเพชร 4 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากเทือกเขา 2 ลูกจนกลางเป็นแ่อ่งกะทะ ซึ่งจุดที่มีบรรยากาศที่ดีมาก มีวิวที่มีมุมมองสวนทั้งเช้าและเย็น เหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองอำนาจเจริญอีกแห่ง



อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์อ่างเก็บน้ำปิดกั้นลำห้วยโพธิ์ สาขาลำเซบาย มี 2 ตอน คือตอนบนและตอนล่าง เป็นทำนบดิน รวมความยาว 810 ม. ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 1,319 ไร่ โดยมีบรรยากาศร่มรื่นมาก อยู่ห่างจากความแออัดของชุมชนเมืองประมาณ 6 กม.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น