วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

About Me

จัดทำโดย


นางสาวตรีรัตน์ กมลรัตน์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 เลขที่ 56

เว็บไซต์เกี่ยวกับจังหวัดอำนาจเจริญ

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ



จังหวัดอำนาจเจริญ





ข้อมูลการเดินทาง

ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ถึงนครราชสีมา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-สุรินทร์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 214 สุรินทร์-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านจังหวัดยโสธร และอำเภอป่าติ้ว ถึงจังหวัดอำนาจเจริญ รวมระยะทางประมาณ 585 กิโลเมตร หรือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-อุบลราชธานี ถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 212 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ รวมเป็นระยะทางประมาณ 704 กิโลเมตร
รถไฟหรือเครื่องบิน
สำหรับผู้ที่ใช้บริการทางเครื่องบิน และรถไฟจะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วต่อรถโดยสารมาที่จังหวัดอำนาจ เจริญอีกประมาณ 75 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-อำนาจเจริญ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หมอชิต 2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657, 0 2936 2852-66 www.transport.co.th

สอบถามข้อมูล

สถานที่พักแรม ที่พัก โรงแรม ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

ร้านอาหาร ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

ร้านจำหน่ายของที่ระลึกขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

สินค้าพื้นเมือง
ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ
( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน )

วัฒนธรรมประเพณี
ประเพณีการแข่งเรือยาว
จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งมีเรือจากอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เรือจากอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเรือจากอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มาร่วมแข่งขันเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี งานแข่งเรือจัดขึ้นที่บริเวณท่าน้ำ แม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน ช่วงเช้าและช่วงบ่ายจะเป็นการแข่งเรือส่วนตอนกลางคืนบริเวณที่ว่าการอำเภอ จะมีการออกร้านขายสินค้าและมีมหรสพ

คำขวัญจังหวัดอำนาจเจริญ


ตราสัญลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ



คำขวัญ ประจำจังหวัด
พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา
เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ ลืออำนาจ )


อำเภอลืออำนาจ พระเจ้าใหญ่ลือชัย หลากหลายไหมขิด แหล่งผลิตชุดวอร์ม ดอกพยอมโสภา เสมาพันปี ประเพณีบุญคูณลาน
 
 
 
 
 
พระฤทธิ์ลือชัย
เป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดบ้านอำนาจ หมู่ที่ 4 ต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2404 ในคราวเดียวกันกับพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อำนาจเจริญ
พระเจ้าใหญ่ลือชัย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือ พระฤทธิ์ลือชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดอำนาจ
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อด้วยอิฐ ถือปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๘ – ๒๔๐๔ บริเวณวัดอำนาจ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ลือชัย นั้นมีลักษณะเป็นชุมชนเก่าแก่ และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญ มาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และ ปาฏิหาริย์ ของพระเจ้าใหญ่ลือชัยมากมาย จากผู้คนที่มากราบไหว้บูชาแล้วประสบความเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือ
ความเชื่อและศรัทธา
คนโบราณเล่าลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรจะได้รับความสำเร็จ ได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มาร มีอำนาจบารมีเป็นที่ยำเกรง ชีวิตผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนานาประการได้อย่างน่าอัศจรรย์






อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้าต.อำนาจ อ.ลืออำนาจ ห่างจากจังหวัด 30 กิโลเมตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 7.00 เมตร ยาว 10.80 เมตร สูง 7.40 เมตร ผนังภายในและภายนอกมีภาพจิตกรรมฝีมืออดีตเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดบ้านยางช้า





แหล่งโบราณคดีเสมาหลายพันปีแหล่งโบราณคดีบ้านเปือยหัวดง ต.เปือย อ.ลืออำนาจ ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ ดังปรากฏว่ามีการสร้างเสมาบริเวณใกล้เคียงกันถึง 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มเสมาหลังโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดงปักล้อมฐานหินทรายที่ตั้งรูปเคารพ และพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิราบ สมัยทราวดีตอนปลายองค์หนึ่ง ลักษณะของเสมาเรียบไม่มีลวดลาย แต่ตรงกลางเป็นแกนสันที่เรียวไปถึงยอด





กลุ่มเสมาบริเวณวัดป่าเรไร บ้านเปือยหัวดงวัดป่าเรไรปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ นักเป็นกลุ่มเสมาที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ไม่มีการสลักลวดลายมากนัก เพียงแต่ตกแต่งรูปร่างให้เป็นเสมาและมีการสลักฐานบัวคว่ำบัวหงายมีสันนูนคล้ายยอดสถูปตรงกลาง





กลุ่มเสมาในเขตวัดโพธิ์ศิลาบ้านเปือยหัวดง เป็นเนินศาสนสถานที่มีกลุ่มเสมาหินทรายปักอยู่ มีการสลักเป็นรูปหม้อน้ำหรือบูรณฆฎะ 1 นอกจากนี้ยังได้ขุดพบหม้อดินเผาขนาดใหญ่ลายเชือกทาบ ภายในหม้อบรรจุพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดเล็กบุเงินจำนวนมาก





บ่อน้ำบุ้นคำว่า "บุ่น" เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึง การไหลทะลักออกมา "น้ำบุ่น" จึงหมายถึง น้ำไหลทะลักขึ้นมาจากพื้นดินตลอดเวลาคล้ายน้ำพุแต่ไม่สูงนัก "บ่อน้ำบุ้น" เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหรือแอ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายบ่อทราย กว้างประมาณ 1 เมตร มองคล้ายกะทะหงายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ปากหลุมเป็นดินเหนียวหรือดินโคลนปิดปากหลุม มีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา เห็นได้ชัดในฤดูแล้ง ส่วนฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ว่า "ดูน" การไหลพุ่งขึ้นมาของน้ำใต้ดินจะทำให้โคลนที่อยู่ปากบ่อ หรือชาวบ้านเรียกว่า "แปวดูน" มีการไหลเวียนขึ้นลงก่อให้เกิดแรงดูด หากมีคนหรือสัตว์พลัดตกลงไปจะถูกโคลนดูดจมหายไป ในปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญมีบ่อน้ำบุ้นอยู่ 3 แห่ง คือ
1) ที่วัดบึงน้ำพุ ต.ไก่คำ อ.เมือง
2) ที่บ้านนาดูน ต.เปือย อ.ลืออำนาจ
3) ที่บ้านน้ำซับ ต.แมด อ.ลืออำนาจ

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ พนา )

อำเภอพนา พนาเมืองเก่า พระเหลาเทพนิมิตร ผ้าขิดสวยดี มัดหมี่จานลาน วนอุทยานดอนเจ้าปู่ เมืองครูนักปราชญ

 


วัดพระเหลาเทพนิมิตพระเหลาเทพนิิมิต เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองสูง 2.70 เมตร หน้าตักกว้างเล่าลือกันในหมู่ชาวบ้านไม่รู้จบสิ้น เป็นที่เคารพนักถือของประชาชนชาวพุทธทั่วไปนานกว่า 200 ปี นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรสันนิษฐษนว่า ทั้งโบสถ์และองค์พระประธานเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะลาวมีอายุราว พ.ศ.2263 เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือกันว่าเป็นเทศกาลปิดทองอค์พระเหลาเทพนิมิต จะมีพุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาบำเพ็ญบุญและแก้บน โดยนำปราสาทผึ้งมาทอดถวาย นำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะ กลายเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาิมิได้ขาด แม้ในวันธรรมดาก็มีผู้นิยมศรัทธาเลื่อมใสมานมัสการเป็นประจำ
พระเหลาเทพนิมิต (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระเหลาเทพนิมิต ประดิษฐานในอุโบสถวัดพระเหลาเทพนิมิต ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในสกุลศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทน์ หล่อปูนลงรักปิดทอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๒๖๓ กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะ งดงามที่สุดองค์หนึ่งใน
ภาคอีสาน ช่างที่สร้างเศียรพระคือซาพรหม ซึ่งเชื่อว่ามีเทวดาลงมาช่วยในการก่อสร้าง ทำให้องค์พระมีความงดงาม กลมกลึงประดุจการหล่อเหลาด้วยมือของเทวดา
ความเชื่อและศรัทธา
มีคำเล่าลือกันว่าทุกคืนวันพระ จะปรากฏลำแสง ลอยออกจากอุโบสถในเวลาเงียบสงัด และเชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้พระเหลาเทพนิมิตจะพบแต่ความสุขสบาย เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้บังคับบัญชา มีวาสนาสูงส่ง เป็นที่รักและเคารพนับถือแก่คนทั่วไป



แหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมืองตำบลไม้กลอน อำเภอพนา สภาพภูมิศาสตร์ของแหล่งโบราณคดีบ้านโพนเมือง มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างยาวรี มีขนาดประมาณ 300-400 เมตร เนินดินส่วนยอดอยู่สูงจากพื้นที่นาโดยรอบประมาณ 3.50 เมตร โบราณวัตถุที่สำรวจพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดหินและแก้ว โบราณวัตถุที่ทำจากทองเหลือง โครงกระดูกมนุษย์และเสมาหินทราย



สวนอุทยานดอนเจ้าปู่สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร วนอุทธยานดอนเจ้าปู่ มีเนื้อที่ประธารณ 260 ไร่
อยู่ห่างจากบ้านพนาไปทางทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร สภาพทั่่วไปเป็นป่า ประกอบด้วยป่าไม้เบญจพรรณนานาชาติ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลิงเป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ในแป่าแห่งนี้ ประมาณ 500 ตัว
             วนอุทธยานดอนเจ้าปู่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอำนาจเจริญ และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนและชาวอำนาจเจริญให้ความเคารพบูชา
มีศาลปู่ตาซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเจ้าปู่ (พรานที พรานทอง) โดยมีรูปปั้นสูง 6 ฟุต ตั้งตะหง่านอยู่และมีพุทธสถานที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางประสูติ ปางตรัสรู้
ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน อยู่ในบริเวณอุทยานดอนเจ้าปู่แห่งนี้

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ หัวตะพาน )

อำเภอหัวตะพาน พระศรีเจริญองค์ศักดิ์สิทธิ์ ผ้าลายขิดเลอเลิศ แหล่งกำเนิดนักปราชญ์ มรดกชาติป่าดงใหญ่ งามวิไลหนองสามขา เมืองแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง
 
 
 
 
พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญ
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีเจริญ บ้านหัวตะพาน ต.พระศรีเจริญ
อ.หัวตะพาน พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1.30 เมตร (15 นิ้ว) สูงจากยอดพระสงฆ์เบื้องล่างถึงพระเกศสูง 2.00 เมตร (80 นิ้ว) พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เล่ากันว่าสร้างมาแล้ว
750 ปี ในเดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ และ 15 ค่ำของทุกปี ชาวบ้านจะจัดงานนมัสการปิดทององค์พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญเพื่อเป็นศิริมงคล
แก่ตนเองและครอบครัว

พระเจ้าใหญ่พระศรีเจริญ (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระศรีเจริญ ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง ปางมารวิชัย หล่อด้วยปูน ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๓๐ เมตร ส่วนสูงจากพระชงฆ์ ถึงยอดพระเกศ ๒ เมตร สร้างมาประมาณ ๗๕๐ ปี เคยปรากฏอภินิหารเกิดขึ้นให้เห็น
หลายครั้ง คือ มีประกายรัศมี ออกจากองค์พระเป็นแสงสุกใสล่องลอยไปที่โคนต้นโพธิ์ ด้านหน้าอุโบสถ ความเชื่อและศรัทธา
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าใหญ่ศรีเจริญเป็นที่เลื่องลือถึงความความแคล้วคลาดใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรหรือมีพระเครื่องพระเจ้าใหญ่ศรีเจริญ จะเดินทางไปมาค้าขายแคล้วคลาดปลอดภัย ในอดีตมีทหารที่เดินทางไปสู้รบในสงครามนำพระเครื่องพระเจ้าใหญ่พระศรีเจริญติดตัวไปด้วย และรอดชีวิตกลับมาทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขานมาจนปัจจุบัน




วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย ตั้งอยู่ที่วัดบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ศึกษาอบรมปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดหนองคาย ตลอดชีวิตในเพศบรรพชิตท่านได้อุทิศชีวิตไปในการศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างมุ่งมั่น เดินธุดงค์จำพรรษาตามป่า เขา เผชิญกับอุปสรรคมากมายอย่างไม่สะทกสะท้าน จนภูมิธรรมเต็มจิตใจ หมดความสงสัยในธรรมอย่างสิ้นเชิงชาวบ้านในเขตอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารและรูปเหมือนของหลวงปู่ เพื่อเป็นอุเทสิกเจดีย์ แห่งความดีงามให้ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้และศึกษาถึงวัตรปฏิบัติที่งดงาม
ความเชื่อและศรัทธา
เชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้รูปเหมือนหลวงปู่ขาว อนาลโย จะทำให้สิ้นทุกข์ สิ้นภัย จิตใจผ่องใส สติปัญญาเฉียบแหลม






เขื่อนลำเซบาย เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นลำเซบาย ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวหัวตะพาน และบริเวณรอบ ๆ เขื่อนลำเซบาย มีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจของผู้ที่ได้ไปเยี่ยมชม





หมู่บ้านคำพระเมื่อปี พ.ศ.2526 ตำบลคำพระ ได้จัดตั้งและอบรมสตรีอาสาพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และจัดตั้งองค์สตรีในระดับหมู่บ้าน และตำบลขึ้นเรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) และคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล (กพสต.) ได้ดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านและตำบล ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าขิดขึ้น โดยอยู่บ้านคำพระ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ บ้านคำพระเป็นศูนย์รวมการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ้าขิตพื้นเมือง โดยรวบรวมจากกลุ่มสตรีบ้านคำพระซึ่งมีความสวยงามจนได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลที่ 1-3 ของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในการประกวดที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรอยุทธยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 และเป็นตัวแทนของจังหวัดอำนาจเจริญนำผลิตภัณฑ์ผ้าขิดไปร่วมงานและทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานพิธีเปิดปีรรงค์วัฒธรรมไทย เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2537 ดังนั้น ผ้าขิดบ้านคำพระจึงเป็นผ้าขิดที่นิยมแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งจำหน่ายในราคาถูกอีกด้วย เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.





หนองหาร        เป็นหนองน้ำผืนใหญ่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ำหลากชนิด มีศาลาชมวิวทิวทัศน์ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ หนองหาร ซึ่งมีความเป็นธรรมชาติ สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ





ป่าดงใหญ่
         เป็นป่าชุมชนที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลสร้างถ่อน้อยทั้งตำบลและตำบลจิกดู่บางส่วน และเป็นป่าชุมชนผืนเดียวที่ยังคงรักษาความเป็นป่าได้อย่างสมบุรณ์ถือได้ว่าเป็นมรดกของชาติที่อยู่คู่
อำเภอหัวตะพานมาโดยตลอด ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น

- สวนสัตว์เปิดบ้านนาคมีสัตว์น้อยใหญ่ให้เลือกชมมากมาย และมีสัตว์แปลก ๆ ที่หาดูได้ยาก เช่น ควาย 3 ขา วัว 6 ขา เป็นต้น

- หอคอยชมวิว มีความสูงเท่าตีก 5 ชั้น เป็นที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิวทิวทัศน์ และธรรมชาติ
บริเวณป่าดงใหญ่และสวนสัตว์เปิดบ้านนาคู






ศูนย์เจียรนัยพลอยบ้านนาคู เป็นศูนย์รวมการเจียรนัยพลอย และอัญมณีอื่น ๆ จำนวนมาก





หนองสามขาเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยดอกบัวอันสวยงาม เป็นสถานที่อนุรักษ์นกน้ำนานาชาติ เช่น นกเจ่า นกกระยาง และนกอื่น ๆ และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ลอยกระทง ปล่อยปลา ปล่อยเต่า เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ ปทุมราชวงศา)

ออำเภอปทุมราช
อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา พระปทุมราชเป็นศรี แหล่งมากมีภูผาสวย รสเลิศด้วยแจ่วบอง แ่ผ่นดินทองมีขิดไหม ราษฎร์ร่วมใจสามัคคี วัฒนธรรมประเพณีรุ่งเรือง
 
 
 
พระธาตุนาป่าแซง (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)พระธาตุใหญ่นาป่าแซง ตั้งอยู่ที่วัดสุทธิกาวาส ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัด อำนาจเจริญ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยพระครูสุทธิพัฒนาภรณ์ ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัต ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ ๑๑๓ องค์ ได้บรรจุไว้ ๒ แห่ง คือ ที่ยอดพระธาตุแห่งหนึ่ง และกลางพระธาตุแห่งหนึ่งองค์พระธาตุนาป่าแซง มีความสูงเท่ากับพระธาตุพนมองค์เดิมทุกประการ
ความเชื่อและศรัทธา
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุใหญ่นาป่าแซง มีความเชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้พระธาตุนาป่าแซง เท่ากับการได้กราบไหว้บูชาพระธาตุพนม ซึ่งจะประสบความสำเร็จตามที่ขอ มีอำนาจบารมีสูงส่ง ผู้คนนับหน้าถือตา เป็นผู้นำแก่บุคคลทั่วไป
 
วัดป่าศรีวิชัยสุวรรณนารามผาวิเวกวัดป่าศรีวิชัยสุวรรณนาราม บ้านดอนนกยูง หมู่ที่ 7 ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ออกจากอำเภอไปทางทิศตะวันออก 8 กิโลเมตร

 
ทิวทัศน์ ถ้ำภูตู้ทองบ้านคำไหล ต.โนนงาม อ.ปทุมราชวงศา เป็นถ้ำพระเก่าแก่หลายร้อยปี ในวันสงกรานต์ชาวบ้านจะมาสรงน้ำพระเป็นประำจำทุกปี มีเทือกเขาสวยงามและอ่างเก็บน้ำ ยอดลุ่มน้ำห้วยพระเหลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ ชานุมาน )

อำเภอชานุมาน ชายแดนแห่งเดียว ป่าเขียวแสนสวย งามห้วยแก่งหิน แผ่นดินน่าอยู่ ชมหมู่ภูไท ท่องไป...ชานุมาน
 
 
 
 
น้ำตกตาดใหญ่เป็นน้ำตก 2 ชั้น ที่สวยงามขวางกั้นล้ำ้น้ำห้วยทม น้ำตกกว้าง 50 เมตร แต่ละชั้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ด้านล่างเป็นหาดทรายบริเวณสองฝั่งเต็มไปด้วยป่าไม้ธรรมชาติ อยุ่ระหว่างบ้านนามงามและบ้านหินกอง





น้ำตกคันแท เป็นน้ำตกที่มีชื่อเรียกตามลำห้วยคันแท น้ำตกกว้าง 20 เมตร สูง 3 เมตร น้ำถ้ำอยู่ภายใต้น้ำตกสามารถเข้าไปเดินหรือนั่งได้สบาย อยู่บริเวณเดียวกันกับน้ำตาดใหญ่





น้ำตกห้วยทราย ห่างจากบ้านห้วยฆ้องประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ใสสะอาดไหลผ่านโขดหินเป็นบริเวณกว้าง เป็นน้ำตกที่สวยงามเหมาะกับการท่องเที่ยว


 


ภูถ้ำพระจากอำเภอชานุมานไปทางทิศตะวันตก ตามเส้นทาง รพช.อจ.3012 ประมาณ 17 กิโลเมตร พื้นที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว มีภูเขาที่ทอดยาว ภูมิประเทศที่สวยงามบนยอดเขามีลานหินกว้าง ใต้หน้าผามีถ้ำ ภายในมีพระพุทธรูปโบราณและพระพุทธรูปปั้น





ภูถ้ำบึ้งตามเส้นทาง รพช.อจ.3021 ถัดจากภูถ้ำพระอยู่บ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว บริเวณวัดตั้งอยู่เนินเขาเตี้ย ๆ หลังศาลาการเปรียญมีหน้าผา ข้างใต้มีถ้ำขนาดใหญ่ ในสมัยก่อนพบค้างคาวจำนวนมาก จึงตั้งชื่อว่า "ถ้ำบึ้ง" ซึ่งแปลว่าค้างคาว เส้นทางขึ้นภู มีลานหินกว้างและจะพบบ่อน้ำที่มีน้ำขังตลอดปี ซึ่งปากบ่อจะมีขนาดเล็กแต่ภายในมีลักษณะคล้ายโอ่ง ถัดไปจะพบป้อมปราการ ซึ่งเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก


 


ภูคำเดือยตามเส้นทาง รพช.อจ.3021 ถัดจากถ้ำพระ บนเทือกเขาภูคำเดือย มีทิวทัศน์ที่งดงาม ร่องหินธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เหมาะสมำหรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาต




ดานกระต่ายเป็นลานหินขนาดใหญ่บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ ลาดด้วยหินดานประหนึ่งเทคอนกรีตล้อมรอบด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ เช่น กอหญ้ามุ้งกระต่าย และต้นข่อยหินที่ขึ้นตามธรรมชาติ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูจันทร์ที่งดงาม


 


จุดชมทิวทัศน์ริมโขงอยุ่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลชานุมาน เป็นจุดที่มีการข้ามชายแดนไปมาระหว่าง ชาวไทย-ลาว สามารถมองเห็นดอนชะโนด ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางลำน้ำโขง ซึ่งมีประชากรลาวอาศัยอยู่ประมาณ 60 หลังคาเรือน
อำเภอชานุมาน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ ในตอนเย็นชมทัศนียภาพสองฟากฝั่งไทย-ลาว สวยงามมาก เหมาะแก่การพักผ่อนยิ่งนัก





เขาคีรีวงกตภูมะโรง ภูมะโรงเป็นภูดินขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างบ้านเมืองเก่า บ้านคำแก้ว บ้านคำเดือย บ้านเหล่าแก้วแมง บ้านสงยาง ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน เป็นแหล่งที่เที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เพราะมีผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ปกคลุม มีสัตว์ป่านานาชาติให้ได้ชม ที่สำคัญจะมีถ้ำดานหิน โขดหิน และหน้าผาที่สูงสลับซับซ้อนสวยงามเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก กล่าวคือ โขดหินที่เรียงตัยกันอยู่บางแห่งจะเป็นชะง่อนออกมา บ้างก้อนสูงขึ้นไป 15 เมตร และช่องระหว่างตรงกลางเป็นร่องดินลึกลงไปเป็นหน้าผาต้องทำสะพานข้ามจึงจะเดินไปโขดหินอีกก้อนได้ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่มีมานับพันปี





แก่งหินขันลักษณะของแก่งหินขัน คือเป็นแก่งหินตั้งอยู่กลางบริเวณแม่น้ำโขง ติดชายแดนไทย-ลาว อำเภอชานุมาน มีลักษณะเป็นร่องหินที่เกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งมีลักษณะเหมือพานหรือขัน ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมไปเที่ยวชมความสวยงามของแก่งนี้เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งซื้อขายปลาแม่น้ำโขง ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวอำเภอชานุมานเป็นอย่างมาก





แก่งต่างหล่างสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอชานุมานประมาณ 1 กิโลเมตร ลักษณะของแก่งต่างหล่างคือเป็นโขดหินขระขระอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นหินศิลาแลงคล้ายชามหรืออ่าง เป็นแอ่งเป็นคุ้ง ในฤดูฝนน้ำจะท่วม เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงจึงท่วมแอ่ง หน้าแล้งแอ่งน้ำจะมีความสวยงามมาก เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ คำว่า "ต่างหล่าง" เป็นภาษาถิ่น บอกถึงลักษณะของภาชนะที่มีลักษณะกว้างและตื้น





อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวภูสระดอกบัวอยู่บริเวณรอยต่อกับอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ในพื้นที่บ้านคำเดือย บ้านดงยาง บ้านเหล่าแก้วมอง ตำบลคำเขื่อนแก้ว บ้านหินสิ่ว ตำบลชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เขตอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เขตอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นเทือกเขายาวเหยียดหนาทึบด้วยป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ยาง มะค่า ตะแบก แดง กระบาก ชิงชัน ประดู่ ฯลฯ แต่เดิมเป็นป่าที่อุดมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดิน มีสัตว์ป่า เช่น ช้าง หมี เสือ เลียงผา กวาง กระทิง และหมูป่าอยู่ชุกชุม ปัจจุบันไม้ได้ถูกทำลายจนเหลือสภาพป่าไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และสัตว์ป่าได้สูญพันธ์เกือบหมดแล้ว
ภูสระดอกบัวมีตำนานเล่าว่า แต่เดิมเป็นที่อยู่ของผีบังบด มีต้นยาสูบขนาดใหญ่เท่าขาคน ต้นสมุนไพรวิเศษหลายชนิดขึ้นอยู่เต็ม ท้าวชมภู ผู้ใหญ่บ้านคำเดือย ได้พาชาวบ้านไปหาของป่าเกิดหิวน้ำระหว่างเดินทางหาน้ำดื่มไ่ม่พบเลย จึงตั้งสัจจะอธิษฐานต่อเจ้าป่าเจ้าเขาขอให้พบน้ำดื่ม หลังจากเดินไปอีกสักครู่ก็พบแอ่งหินหลายแอ่ง มีน้ำใสขังอยู่เต็ม มีหลายขนาดตั้งแต่ความก้าวไม่ถึงวาและมากกว่าวา มีหลายแอ่งน้ำลึกท่วมศรีษะคน มีดอกบัวแดงขึ้นชูรอรับแสงอาทิตย์สวยงามยิ่งนัก ท้าวชมภูจึงชวนลูกบ้านดื่ม ปรากฏว่ามีกำลังขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจ ความกระหายน้ำไปอย่างปลิดทิ้ง บรรดาชาวบ้านจึงพานกันขนานนามว่า "ภูสระดอกบัว" สืบมาจนทุกวันนี้

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอ เสนางคนิคม )

อำเภอเสนางคนิคม เมืองสองนาง เด่นดังข้าวจี่ ดีล้ำพลุตะไล ผ้าไหมลายขิด วิจิตรภูโพนทอง ชื่อก้องกลองยาว
 
 
 
 
ถ้ำพระ ภูโพนทองมีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี มีทั้งด้วยไม้ ดิน หิน ชาวบ้านนิยมขึ้นไปสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ ปีใดฝนแล้งชาวบ้านจะขึ้นไปขอฝน




คอกช้าง (คล้องช้างป่า)เป็นลักษณะหินขนาดใหญ่วางพิงกันจนเป็นคล้ายถ้ำ สมัยก่อนชาวบ้านจะต้อนช้างเข้ามา แล้วเอาเชือกคล้องงาช้างไว้


 


ทิวทัศน์ ภูเกษตรเป็นภูเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเพียงลูกเดียวไม่ติดต่อกันเป็นเทือกเขา มีความสูงชันหลายๆชั้นตามไหล่
เขามีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง






ภูวัด
ภูวัดมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับภูโพนทอง เป็นภูเขาหินทรายที่มีต้นไม้น้อนใหญ่ปกคลุม ตั้งห่างจากภูโพนทองไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร เหมาะที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยิ่ง เพราะสามารถเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาได้สะดวกและป่าไม้
ยังมีความอุดมสมบุรณ






ภูพนมดีตั้งอยู่ใกล้ภูเกษตร ตำนานเล่าว่าใครไปล่าสัตว์หรือแผ้วถางป่า จะมีอันเป็นไป เมื่อก่อนเรียกว่า "ภูแม่หม้าย"
จุดชมทัศนียภาพ เป็นลานดินสลับกับก้อนหินที่มีความสวยงาม เหมาะสำหรับชมทัศนียภาพและตั้งแคมป์พักผ่อน





ดานหัวนาคเป็นก้อนหินทรายที่ถูกกัดเซาะ ตั้งซ้อนกันสูงประมาณ 6 เมตร ก้อนที่ตั้งอยู่ข้างบนมีลักษณะคล้าย ๆ กับหัวพญานาค จึงเรียกตามจินตนาการว่า "ดานหัวนาค





แอวขันเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าทางธรรมชาติ ตั้งอยู่บนหน้าผาทางด้านทิศใต้ของภูโพนทอง





คอกช้างคอกม้า มีลักษณะเป็นโขดหินวางซ้อนกันเกะกะ ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หลังเขานานาพันธุ์ เป็นที่หลบภัยของฝูงช้างป่าในสมัยก่อน ปัจจุบันเหลือไว้ให้ดูเฉพาะรอยโคลนตมที่ช้างได้ถูและติดกับก้อนหิน แต่เนื่องจากว่าก้อนหินบริเวณนี้ช้างได้อาศัยหลบฝนและอากาศร้อนคราวละหลาย ๆ เชือก จึงเรียกขนานนามว่า "คอกช้างคอกม้า"


 


ภูโพนทองเป็นภูเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 353 ฟุต มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
1) สร้างวัด คือ โพรงหิน มีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ "สร้าง" ภาษีอีสานออกเสียงว่า "ส่าง" หรือ "บ่อน้ำดื่ม"
2) แอวขัน "แอว" เป็นภาษาอีสาน คือ "เอว" เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ เป็นจุดชมวิวสวยงามแห่งหนึ่ง "ขัน" คือ ภาชนะตักน้ำคล้ายพาน
3) คอกช้าง คือ เพิงหินขนาดใหญ่ เป็นลานกว้างมีก้อนหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ เมื่อก่อนช้างที่ขึ้นไปหากินหญ้า หรือใบไม้บนภูโพนทอง
จะอาศัยเพิงหินแห่งนี้เป็นที่พักหรือที่หลบฝน ชาวบ้านจึงเรียกว่า "คอกช้าง"
 

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ(อำเภอ เมือง)

อำเภอเมือง พระใหญ่คู่เมือง ลือเลื่องถ้ำแสงเพชร รสเด็ดเนื้อแห้ง แหล่งเกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำงามตา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม งามล้ำประเพณี




พระมงคลมิ่งเมือง (พระใหญ่)เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตั้งอยู่ที่พุทธอุทยาน ถนนชยางกูร อำเภอเมือง มีพุทธลักษณะ ตามอิทธิพลด้านศิลปะอินเดียเหนือ
แคว้นปาละ ซึ่งได้แผ่อิทธิพลด้านศิลปะมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อรวาพุทธศตวรรษที่ 13-16 เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับต่ำสุดถึงยอดเปลว 20 เมตร
โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2508 เชื่อกันว่าพระมงคลมิ่งเมืองเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนทั้งชาวอำนาจเจริญ
และจังหวัดใกล้เคียงมีความเคารพและ กราบไหว้บูชาทุกปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆะบูชา) ชาวบ้านจะจัดงานนมัสการ พระมงคลมิ่งเมืองและถือได้ว่าเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดอำนาจเจริญที่ถือปฏิบัติ
กันมาจนถึงปัจจุบัน มีการแสดง แสง เสียง ตำนานเมืองอำนาจเจริญเป็นประจำทุกป

พระมงคลมิ่งเมือง (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
ประดิษฐานอยู่ในบริเวณพุทธอุทยาน ถนนชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพุทธลักษณะตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียเหนือ แคว้นปาละ หน้าตัก กว้าง ๑๑ เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินถึงยอดเปลว ๒๐ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวนอกฉาบปูนบุด้วยกระเบื้องโมเสก สีทอง ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ จัดทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘
ความเชื่อและศรัทธา
พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียไว้ที่องค์พระ และล่ำลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรพระมงคลมิ่งเมือง ซึ่งถือเสมือนการได้ไปกราบไหว้พระสารีริกธาตุที่ประเทศอินเดีย เป็นการเสริมมงคลแก่ชีวิต มีความเจริญก้าวหน้า มีอำนาจวาสนา และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นหลักชัยในบ้านเมือง

                                              

สวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่ ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 35 ไร่ 13 ตารางวา ภายในสวนมิ่งเมือง เฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาล หลักเมือง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2544



วัดถ้ำแสงเพชร "...วัดถ้ำำแสงเพชร หรือศาลาพันห้องเป็นศาลาอยู่ยอดเขาสูงทิศเหนือมีถ้ำขนาดใหญ่ภายในถ้ำ
มีพระพุทธรูปสวยงาม..." ต่อมาเมื่อปี 2511 หลวงปู่ชา (วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี) ได้มาพำนักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระใหญ่ 5 คืน
ถ้ำแสงเพชร เป็นสำนักสงฆ์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง มีการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
มากมาย มีการตัดถนนทางราดยางถึง มหาวิหาร กว้าง 28 เมตร ยาว 60 เมตร โดย
พื้นชั้นล่างเป็นแทงค์เก็บน้ำฝนไว้ใช้หน้าแล้งและทำให้วิหารมีบรรยากาศเย็น ข้าง
มหาวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ ยาว 19 เมตร มีพุทธลักษณะที่สวยงาม และเจดีย์สถูป
ภายในมีรูปปั้นเหมือนของหลวงปู่ชา และภาพเขียนฝาผนังสีน้ำพุทธประวัติสวยงามมาก ห่างจากจังหวัดไปทาง อ.ปทุมราชวงศา 11 กม.
พระนอนวัดถ้ำแสงเพชร (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)ประดิษฐานอยู่ที่วัดถ้ำแสงเพชร ตำบลหนองมะแซว อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวัดสาขาที่๕ ของวัดหนองป่าพงหลวงปู่ชา สุภัทโทวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินธุดงค์มายังบริเวณถ้ำแสงเพชร และใช้ถ้ำเป็นที่พำนักวิปัสสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ มีความเงียบสงบ
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
ความเชื่อและศรัทธาเชื่อ
กันว่าการได้มากราบไหว้บูชาพระนอนวัดถ้ำแสงเพชร ถือเสมือนเป็นการได้เข้าเฝ้ารับฟังปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ผู้ที่ได้มากราบไหว้บูชาจะอุดมด้วยสติปัญญา มีแต่ความสว่างไสวมีความปลอดภัย ประสบชัยชนะจากหมู่มารชีวิตมีแต่ความสงบสุขอย่างแท้จริงเหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำแสงเพชร
ก็เนื่องมาจากประกายของเกล็ดหินยามเมื่อต้องกับแสงตะวันจะวาววับคล้ายกับแสงเพชร อีกทั้งหลวงปู่ชา พร้อมด้วยลูกศิษย์ ได้มาพักบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระใหญ่และได้เกิดนิมิตประหลาดจนเกิดความมั่นใจว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ในการบำเพ็ญธรรม
จึงได้ตั้งชื่อ ถ้ำพระใหญ่ ใหม่ว่า “ถ้ำแสงเพชร” และเคยจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
วัดถ้ำแสงเพชร มีเจดีย์ขนาดใหญ่ภายในประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ชา สุภัทโท ผนังภายในเป็นภาพเขียนสี ที่สวยงาม พื้นที่ส่วนบนของผนัง
เล่าเรื่อง พุทธประวัติ ส่วนด้านล่างเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชา สุภัทโท


พระศรีโพธิ์ชัย (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระศรีโพธิ์ชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดศรีโพธิ์ชัย บ้านปลาค้าว อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพุทธลักษณะ แบบลาวล้านช้าง ก่ออิฐถือปูนปิดทอง สูง ๑.๒๐ เมตร
หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร เป็นพระพุทธรูป ที่ชาวบ้านในเขตตำบลปลาค้าว และประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ เคารพเลื่อมใสมากที่สุดองค์หนึ่ง ในจำนวนพระพุทธรูปเก่าแก่ของจังหวัดอำนาจเจริญ
ความเชื่อและศรัทธา
ชาวอำนาจเจริญเชื่อว่าผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษา เล่าเรียนและการงานอาชีพ จะมากราบไหว้ขอพรบอกกล่าวต่อพระศรีโพธิ์ชัย และสมความมุ่งหวัง ทุกราย
เดิมวัดศรีโพธิ์ชัย จะมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัด แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว อุโบสถ หรือวิหารที่ประดิษฐานพระศรีโพธิ์ชัย ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ลักษณะของวิหารมีระเบียงรอบและเสาค้ำเป็นซุ้มโค้งล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีบันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านข้างอุโบสถ หลังคาเป็นเครื่องไม้เดิมสันนิษฐานว่ามุงด้วยกระเบื้องดินเผา แต่ปัจจุบัน มีสภาพชำรุดและเปลี่ยนเป็นหลังคาสังกะสีแทน ปั้นลมและเชิงชายเป็นไม้แกะสลักและลายฉลุ เหนือประตูทางเข้ามีจารึกเป็นตัวเลขไทย และตัวเลขญวนบอก พ.ศ.๒๔๗๘ ชาวบ้านทั่วไปเรียก วิหารญวน ภายในวิหารมีโบราณวัตถุล้ำค่า เช่น พระพุทธรูปไม้ ตู้พระไตรปิฎก โฮงฮดไม้แบบโบราณ

วัดถ้ำแสงแก้วสวนเทพอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดถ้ำแสงแก้วเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งหลวงพ่อแดง (ท่านพระครูเมตตาภิวัฒน์ สุวัณโณ)
กับนายสันติ เกรียงไกรสุข และคณะได้ขึ้นไป พบรอยเท้าพระอรหันต์ องค์พระสวลี เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2541 แรม 9 ค่ำ เดือน 6
คาดว่า มีมานานกว่า 2,000 ปี อนึ่งนอกจากบริเวณวัด ถ้ำแสงแก้วและลานเทพเป็นที่สถิตย์ของ "หลวงปู่ฤาษีบรมโกฎิ" ผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ ผู้มีฤทธิ์มาก ผู้กระทำแต่ความดีงาม ผู้มีอายุยาวนาน


                                      

ภูจำปาเป็นเขาเล็ก ๆ มีต้นจำปาขึ้นตามลานหิน เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่ง มีถ้ำพระศักดิ์สิทธิ์ และโขนหินมากมาย
อยู่บ้านภูจำปา ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ห่างจากจังหวัดไปทางจังหวัดยโสธร ถึงสี่แยกน้ำปลีก
ประมาณ 19 กม. เลี้ยงขวาเข้าหมู่บ้านประมาณ 6 กม.

                                             

พระสังกัจจายน์ (เป็นพระที่อยู่ในโครงการไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมี ที่อำนาจเจริญ)
พระสังกัจจายน์ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร วัดสำราญนิเวศ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอำนาจเจริญ หน้าตักกว้าง ๖ เมตร สูง ๑๐ เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก ผิวนอกฉาบปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระสังกัจจายน์ เป็นปางพระโพธิสัตว์ของ พระศรีอริยเมตตรัย ลงมาจุติประกาศพระสัจจะธรรมในพระพุทธศาสนาต่อจากพระศากยมุนี หรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งมี ศรีสุข ความอุดมสมบูรณ์
ความเชื่อและศรัทธา
เชื่อกันว่าผู้ที่ได้มากราบไหว้บูชาพระสังกัจจายน์ เป็นการสั่งสมปัญญาบารมี
มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและพบพระพุทธศาสนาในยุคพระศรีอริยเมตตรัย



วัดดงเฒ่าเก่าบ้านหนองเรือ ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เป็นแหล่งที่มีการปักเสมาในพื้นที่กว้าง มีการสลักลวดลายนูนตำ่เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อนำ้ และตอนบนเป็นรูปวงกลมคล้ายธรรมจักร มีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 12-13 และยังพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลายด้วย


 


อุโบสถ (สิม) วัดราสิยารามตั้งอยู่บ้านไก่คำ ตำบลไก่คำ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากจังหวัด 5 กิโลเมตร สร้างราว พ.ศ.2468-2471 เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะเป็นอาคารสี่เหลื่ยมผืนผ้า กว้าง 4.20 เมตร ยาว 2.40 เมตร สูง 6.60 เมตร มุขหน้าเป็นไม้ ทำเป็นรัศมี มีแสงอาทิตย์และไม้ลูกฟัก ที่ผนังโบสถ์ด้านหน้า มีภาพเขียนแบบโบราณ


 


วนอุทยานภูสิงห์-ภูผาผึ้งตั้งอยู่ ณ บ้านบ๋าเจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่วนอุทยานฯ เป็นภูเขาหิน หินเป็นหินทรายอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหัวกอง ดงบังอี่ เขตอำเภอเมือง และอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ 8,000 ไร่ ห่างจากจังหวัดไปทางอำเภอปทุมราชวงศา 16 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านบ๋าเจริญ 4 กม. ถึงที่ทำการวนอุทยาน


                  ตะพาบหิน เป็นลานหินกว้างประมาณ 10 เมตร หินคล้ายตะพาบน้ำตั้งอยู่ บนลานหิน


ลานควายตู้ เป็นปฏิมากรรมหินทราย (Sand Stone) จาก
ธรรมชาติพิสดารแปลดตาอยู่บนลานหินขนาดใหญ่ หินมีลักษณะคล้ายลานเลี้ยงควายซึ่งเหล่านี้เกิดจากการกัดเซาะของสายน้ำ
ลม แสงแดด


อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยานก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2500-2506 ปิดกั้นห้วยปลาแดก สาขาลำน้ำ้้เซบาย เป็นทำนบดิน ยาว 1,300 ม. สูง 13.5 ม. สันกว้าง 6 ม. ปริมาณเก็บกักน้ำ 15.34 ล้านบาทก์เมตร เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ 11,014 ไร่ เพื่อการประปา โดยเป็นแหล่งสนับสนุนน้ำดินให้การประปาได้ถึง จำนวน 2,400 ลูกบาศก์เมตร/วัน


 


อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท เป็นอ่างเก็บเพื่อการเกษตรห่างจากตัวอำเภอเมือง 15 กม. ทางไป อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ถนนอรุณประเสริฐ 11 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าไปเส้นทางเดีียวกันกับ
วัดถ้ำแสงเพชร 4 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำที่เกิดจากเทือกเขา 2 ลูกจนกลางเป็นแ่อ่งกะทะ ซึ่งจุดที่มีบรรยากาศที่ดีมาก มีวิวที่มีมุมมองสวนทั้งเช้าและเย็น เหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองอำนาจเจริญอีกแห่ง



อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์อ่างเก็บน้ำปิดกั้นลำห้วยโพธิ์ สาขาลำเซบาย มี 2 ตอน คือตอนบนและตอนล่าง เป็นทำนบดิน รวมความยาว 810 ม. ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 1,319 ไร่ โดยมีบรรยากาศร่มรื่นมาก อยู่ห่างจากความแออัดของชุมชนเมืองประมาณ 6 กม.